“เห็ดเผาะ”โลละ500 เเพงนักเพาะกินเองซะเลย! ไม่ต้องซื้อให้เสียตัง!ดูเลย!

เห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ เป็นเห็ดพื้นบ้านที่นิยมนำมารับประทานมาก โดยเฉพาะคนในภาคอีสาน และภาคเหนือ เนื่องจากมีเนื้อกรอบกุบกับ มีรสหวานเล็กน้อย ดอกเห็ดจะออกเพียงปีละครั้ง ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน หลังเข้าช่วงต้นฤดูฝนใหม่ๆ หาเก็บได้ในพื้นที่ป่าเท่านั้น ยังไม่สามารถเพาะเองได้ จึงทำให้มีราคาสูง กิโลกรัมละ 200-500 บาท

เห็ดเผาะพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ รวมถึงพบได้ในภาคอื่นยกเว้นภาคใต้ บริเวณที่พบส่วนมากจะเป็นป่าเต็งรังที่มีลักษณะดินร่วนซุย ใกล้ๆกับรากพืช ในระยะแรกของการเจริญเติบโต ดอกเห็ดจะเติบโตมาจากหน้าดินตื้น และค่อยผุดขึ้นมาเหนือดิน ในระยะดอกเห็ดอ่อนที่นิยมนำมารับประทานอาจพบบางส่วนของดอกเห็ดโผล่เหนือดินหรือไม่พบเลย ซึ่งทำให้บางครั้งหากต้องการเห็ดเผาะที่อ่อนมากจำเป็นใช้เสียมขุดดินบริเวณ โดยสังเกตได้จากรอยดันนูน และแตกของดิน

ช่วงนี้!..เห็ดเผาะกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแต่ถึงแม้ว่าจะถึงฤดูที่เห็ดออกแล้วก็ยังขายแพงและบางทีจำนวนไม่พอกับความต้องการของตลาดด้วยซ้ำ หาซื้อแทบไม่มีขาย วันนี้ไข่เจียวเลยมีข่าวดีสำหรับคนที่ชื่อชอบเห็ดเผาะมาฝาก ซึ่งต่อไปนี้เราไม่ต้องไปหาซื้อ เห็ดเผากิโลละแพงๆ เนื่องจากเรามีวิธีปลูกเองได้ แบบง่ายๆ ไม่รอเผาป่า ไม่ต้องรอให้ฝนตกก็ทำได้

ซึ่ง ดร.อานนท์ เอื้อตระกลู ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ด้านการเพาะเห็ด องค์การสหประชาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2524-2548 เล่าให้ฟังว่า “เห็ดเผาะ” หรือ “เห็ดถอบ” มี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ “เห็ดเผาะหนัง” สีดำเนื้อกรอบ ๆ และ “เห็ดเผาะฝ้าย” เนื้ออ่อนนิ่ม เกิดในต้นฤดูฝนไม่มีราก เป็นก้อนกลมๆ มีเปลือกแข็งสปอร์อยู่ข้างใน ซึ่งจะนิยมนำมาทำอาหารในช่วงที่อ่อนๆ แน่นอนว่าเห็ดนอกจากจะรสชาติดี และมีคุณค่าทางโภชนาสูงแล้ว ยังมีคุณสมบัติทางยาอีกด้วย ทำให้ทั้งความสนใจและความต้องการของเห็ดเพิ่มขึ้น ขณะนี้คนไทยกินเห็ดเกิน 10,000 กรัม/คน/ปี

“ผมว่าตอนนี้เรื่องเห็ดคนสนใจกันมาก ตอนที่ผมสอนใหม่ ๆ เมื่อปี 2516 ไทยยังสั่งเห็ดนำเข้า ยังไม่มีการเพาะเห็ดมาก คนไทยสมัยนั้นกินเห็ดแค่ 235 กรัม/คน/ปี แต่หลังจากที่รณรงค์และเผยแพร่เรื่องเห็ด จากนั้นมาเพียงแค่ 5 ปีให้หลัง ไทยสามารถเพาะเห็ดฟางได้มากถึง 60,000 ตันมากที่สุด”

ปัจจุบัน ประเทศไทย สามารถเพาะ “เห็ดเผาะ” แบบยั่งยืนได้แล้ว โดยนำ “เชื้อเห็ดเผาะ” ใส่เข้าไปในรากของต้นตระกูล ต้นยางนา เช่น ต้นเหียง ต้นพลวง มะค่า เต็งรัง ต้นไม้พวกนี้หากมีเชื้อเห็ดเผาะเข้าไปอาศัยจะโตไวมาก เพราะเส้นใย 「เห็ดเผาะ」 จะเกาะอยู่ที่ปลายราก ย่อยอาหารจำพวกฟอสฟอรัสให้รากพืชแข็งแรง และป้องกันโรคอย่างอื่นมาทำลายรากของต้นไม้นั้น

ต้นไม้ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ นอกเหนือจากจะเจริญเติบโตด้วยการสังเคราะห์แสงแล้ว มีมากถึง 95% ที่ไม่สามารถย่อยสารอาหารที่อยู่ปลายรากได้เอง จำต้องพึ่งเชื้อรา หนึ่งชนิดที่กำลังจะพูดถึง คือ “ไมคอร์ไรซา” เป็นรากลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ใต้ดินอาศัยอยู่ตามรากพืชของต้นไม้ ซึ่งเป็นเชื้อของเห็ดเผาะ เห็ดตับเต่า เห็ดระโงก เป็นต้น

ขณะเดียวกันเห็ดก็อาศัยพลังงานและเอ็นไซม์ที่มีประโยชน์จากพืช ซึ่งจะอยู่ร่วมอาศัยซึ่งกันและกันเช่นนี้ ไปจนหมดอายุขัยของต้นไม้ เช่น ไม้ยางนาที่เป็นไม้เนื้อหอม สามารถมีอายุได้นานกว่า 700 ปี

ส่วนความเชื่อของชาวบ้านที่ว่า.. ยิ่งเผาเคลียร์พื้นที่ยิ่งทำให้เก็บเห็ดง่าย ผลผลิตมาก…!! ความคิดนี้ผิด 100 % เพราะในปีต่อไปเห็ดจะลดลง ต้นไม้ได้รับบาดเจ็บ และหากต้นไม้ที่เป็นตัวสร้างอาหารให้เห็ดตายไป ก็จะไม่มี “เห็ดเผาะ” เกิดขึ้นอีกเลย

ขั้นตอนแรกนำ “เห็ดเผาะ” ที่แก่จัดมาแกะเอาสปอร์ข้างใน แล้วนำไปผสมน้ำให้เข้ากัน จากนั้นนำน้ำดำๆ ที่ได้ราดไปที่โคลนต้นไม้ ในปีถัดไปก็จะมีเห็ดเผาะเกิดตามรากไม้ต้น เมื่อต้นไม้โตพอประมาณสัก 2 ปี ให้เริ่มเก็บได้ และจะเกิดที่ต้นไม้ต้นนี้ทุก ๆ ปี

ส่วนอีกวิธีที่ดีที่สุดให้นำน้ำดำ ๆ ไปรดกล้าต้นไม้ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละครั้ง สังเกตุดูต้นกล้าถ้าเริ่มมีเนื้อเยื่อ “เห็ดเผาะ” เจริญเติบโตแล้ว ให้นำไปปลูกได้ หรืออีกวิธีที่ง่ายกว่านั้น นำต้นกล้าไปปลูกทิ้งไว้ใต้ต้นไม้ยางนาสักระยะ ก็จะได้ต้นกล้าที่ติดเชื้อ “เห็ดเผาะ” ไปด้วย แต่เมื่อในปีถัดไปมี “เห็ดเผาะ” เกิดขึ้น อย่าพึ่งเก็บเพราะต้นไม้ยังไม่แข็งแรงพอ

ก็แสดงว่า หากเรานำ “เห็ดเพาะ” เข้าไปในรากยางนา เพียง 2-3 ปี ก็จะมี “เห็ดเผาะ” เกิดขึ้น และเก็บต่อไปได้อีกกว่า 700 ปี โดยไม่ต้องใส่เชื้อเห็ดใหม่อีกเลย และผลิตจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ตามภาพที่เห็น คือ “ต้นยางนาง” อายุประมาณ 10 ปี ที่ใส่ “เชื้อเห็ดเผาะ” เข้าไป

นี่คือ “การเพาะเห็ดเผาะ” กลางคันนา กลางทุ่ง ข้างถนนใน จ.เชียงใหม่ จึงไม่เป็นไปตามที่เข้าใจกันว่า ต้องปลูกอยู่ในป่าเท่านั้น น่าตื่นเต้น และน่าจะเป็นข่าวดีที่สุดของคนไทยที่ชอบกิน “เห็ดเผาะ”

เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่ชอบกินเห็ดเผาะนะคะ เพราะหากจะรอฟ้ารอฝน ก็คงจะต้องอดทนนานหน่อย ปีละครั้งถึงจะได้ทาน แต่วันนี้เรารู้วิธีปลูกแล้วก็ลองนำไปทดลองปลุกกันดู เพื่อได้ผลปลูกขายสร้างอาชีพได้เลยนะ

ข้อมูลและภาพจาก kaijeaw