พี่น้องชาวกาฬสินธุ์ เปลี่ยนไร่มันสําปะหลัง เป็น”สวนทุเรียนหมอนทอง”

พี่น้องชาวกาฬสินธุ์ เปลี่ยนไร่มันสําปะหลัง มาเป็น”สวนทุเรียนหมอนทอง” ซึ่งทางเฟสบุ๊คอนุชา สิงหะดี ได้ระบุข้อความว่า ” เกษตรกรชาวกาฬสินธุ์ ลุยเดินหน้าสู่ “เกษตรมั่งคั่ง” เปลี่ยนไร่มันราคาตกต่ำ เป็น “สวนทุเรียนหมอนทอง” พร้อมตั้งเป้าเปิดจังหวัดท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างครบวงจร ในอนาคตอันใกล้นี้!

ผมอนุชา สิงหะดี ประธานเครือข่ายคนรุ่นใหม่พัฒนากาฬสินธุ์(คมพ.กส.) ได้รับเกียรติอย่างสูงจากคุณครูสวาสดิ์ ศรีโยธี ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์  มีโอกาสได้ลงพื้นที่ เยี่ยมชม “สวนทุเรียนหมอนทอง” ของครูสวาสดิ์ ในพื้นที่บ้านภูเงิน ตำบลห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปลูกอยู่บนเนื้อที่กว่า 5 ไร่

ครูสวาสดิ์ท่านเล่าให้ผมฟังว่า “ปลูกมันสำปะหลังกะขาดทุน ปลูกอ้อยก็แทบไม่มีกำไร่” ไม่รู้จะเอาพืชนิดไหนมาปลูก จึงจะไม่ขาดทุน เงินเดือนครูเอามาลงไร่ ลงสวนนี้กะบ่แมนหน่อย แต่พอเก็บผลผลิตไปขาย “หากำไร่ก็ไม่มี” ยิ่งทำยิ่งขาดทุน ค่าแรงก็แพง ค่าเครื่องจักรก็แพง ค่าปุ๋ยยิ่งแพง ฯลฯ (ไม่ไหวที่จะทำต่อไป)

จึงหันทา (ทดลอง) “ปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง” โดยสั่งซื้อต้นพันธุ์ทุเรียนหมอนทอง แบบคัดพิเศษ มาจากจังหวัดจันทรบุรี ซึ่งพึ่งลงแปลงปลูกได้ไม่นานนี่เองครับ และเมื่อดูจากลักษณะของการเจริญเติบโตของต้นพันธุ์ที่นำมาปลูกนั้น ถือว่า “เป็นที่น่าพอใจ” ครับ กล่าวคือ มีการแตกยอดอ่อน อย่างต่อเนื่อง

ซึ่งครูสวาสดิ์เอง พร้อมที่จะร่วมกับพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ คนอื่นๆ คิดค้น ทดลองหาวิธีการปลูกและดูแลรักษาทุเรียนที่ปลูกใหม่ให้เจริญเติบโต สามารถออกดอกและให้ผลได้เหมือนกับสวนทุเรียนของพ่อหำ (สุดใจ บุตรพรม) ที่กำลังโด่งดังในโลกโซเชียลอยู่ในขณะนี้ครับ”

ซึ่งทาง”ลุงหำ”(ที่กำลังโด่งดังในโลกโซเชียล) ได้ทดลองทำการปลูกทุเรียน20-30ต้น “ลุงหำ”เองมีญาติที่ทำสวนทุเรียนอยู่จังหวัดจันทรบุรี ปลูกไว้หลายร้อยไร่ ลุงเลยนำเอาต้นพันธุ์ทุเรียนหมอนทองกลับมาปลูกที่ อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์

เริ่มแรกปลูกทดลอง ประมาณ 30-40 ต้น รอดเเละเจรฺญเติบโตมาได้ประมาณสักเกือบๆ 20 ต้น  ทุเรียนที่ลุงหำปลูกนั้น อายุการปลูกประมาณปีที่ 3 จะเข้าปีที่ 4 ก็ออกดอกออกผล เเต่ตอนนั้นผลออกไม่เยอะไม่ถึง10ลูกด้วยซ้ำ ตอนให้ผลผลิตในช่วงแรกๆนั้น ก็ไปได้เหมือนกำลังไปได้ดี เก็บผลผลิตเอาใส่เต็มกระบะรถปิ๊กอัพ ไปแจกพี่น้องทางอีสานใต้ เป็นคันรถในแต่ละปี และพอประมาณสัก 2-3 ปี สวนทุเรียน เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้น ก็เริ่มมี “พ่อค้าขายปุ๋ย” สูตรต่างๆ สารพัดสูตร ทั้งปุ๋ยเม็ด ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยใบ ปุ๋ยราก ปุ๋ยผล ปุ๋ยลำต้น ปุ๋ยดอก ฯลฯ เอาปุ๋ยมาให้ทดลอง พ่อค้าปุ๋ยเจ้าไหนมากะว่า “อันนี่ดีสุดยอด” รับประกัน และให้ทดลองฟรี! เจ้านั้นมากะขอร้องแกมบังคับให้ลองปุ๋ย เจ้านี่มากะขอให้ลองปุ๋ย ล่าสุดตอนนี้ทุเรียนหมอนทอง กำลังสวย ออกหมากออกผลดกๆเกือบ 20 ต้น ให้ผลต่อปีต้นละเกือบ 60-70

ยังไงก็เเล้วเเต่ตอนนี้ถือว่าจังหวัดของภาคอีสาน เริ่มให้ความสนใจในการปลูกทุเรียนกันเยอะขึ้น หวังสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้พี่น้อยชาวอีสาน เเละเป็นการกระตุ้นให้เศรษฐกิจประเทศให้เจริญเติมโตต่อไปอีกด้วย

ขอขอบคุณข่าวสารจาก
นายอนุชา สิงหะดี
ประธานเครือข่ายคนรุ่นใหม่พัฒนากาฬสินธุ์(คมพ.กส.) และคณะ

อดีตอนุกรรมาธิการการมีสาวนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์