การเลี้ยงปลาดุกในโอ่งซีเมนต์ ให้ได้กำไร 100,000บาทต่อเดือน

การเลี้ยงปลาดุก ถือเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ทำให้เรามีรายได้สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ แต่ก่อนที่จะเลี้ยงปลาดุกเป็นอาชีพนั้นจะต้องมีการศึกษา และหาตลาดให้ดีซะก่อน แต่สำหรับใครที่เลี้ยงไว้กินเอง ก็เลี้ยงสักบ่อ สองบ่อแล้วแต่ความสะดวก อันนี้ไม่ว่ากัน ไม่ต้องไปศึกษาหรือหาตลาดให้มากมายก็สามารถเลี้ยงได้

วิธีการการเลี้ยงปลาดุกในโอ่งซีเมนต์
1. ใช้โอ่งซีเมนต์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร สูง 50 ซม. ทำการต่อท่อข้างล่างโอ่งเพื่อระบายนำ
2. ล้างโอ่งซีเมนต์ให้สะอาด เพื่อไม่ให้ลูกปลาดุกตาย โดยทำการปล่อยน้ำใส่โอ่ง แล้วน้ำหยวกกล้วยลงไปแช่ประมาณ 7 วัน ล้างให้สะอาด
3. ปล่อยน้ำใส่โอ่งซีเมนต์ โดยให้มีความสูงประมาณ 20 ซม. เพื่อให้ลูกปลาดุกหายใจสะดวก
4. ทำการปล่อยปลาดุก 1 โอ่ง ประมาณ 80-100 ตัว โดยการปล่อยจะนำน้ำจากโอ่งมาใส่ภาชนะที่เตรียมลูกปลาดุกเพื่อให้ปรับสภาพก่อน ใส่ผักตบชวาเข้าไปด้วย เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นอาหารของลูกปลาดุก
5. ในช่วงอนุบาลควรให้อาหารสำเร็จอย่างเต็มที่ เช้า-เย็น เลี้ยงได้ประมาณ 15-20 วัน ให้ทำการลดอาหารสำเร็จ ใส่ผักตบลงไป และเพิ่มปริมาณน้ำเข้าไปด้วยโดยค่อยๆ ปรับระดับน้ำให้สูงขึ้น และตกเย็นให้อาหารสำเร็จรูปเมื่อปลาอายุได้ 3-4 เดือนจะมีขนาด 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม
6. ในช่วงการเลี้ยงจะมีการใส่น้ำหมักชีวภาพในช่วงเปลี่ยนน้ำ หรือตามความเหมาะสมเพื่อปรับคุณภาพน้ำ โดยน้ำหมักที่ได้จะผลิตขึ้นมาเอง โดยจะใช้กล้วยน้ำว้า ฟักทอง มะละกอ อย่างละ 3 กิโลกรัม นำมาสับ และผสมกับกากน้ำตาลอีก 3 กิโลกรัม คนให้เข้ากันเก็บไว้ในภาชนะปิด ผ่านไป 7 วัน ก็ผสมน้ำในอัตราส่วน 9 ลิตรเทลงไป ตั้งทิ้งไว้ 15 วันก็สามารถนำไปใช้ตามต้องการ

วิธีการเลี้ยงปลาดุกด้วยน้ำหมักชีวภาพ

1.) เมื่อนำน้ำใส่โอ่งแล้วให้ใส่น้ำหมักชีวภาพลงไปตามความเหมาะสม เพื่อให้จุลินทรีย์ปรับสภาพน้ำ จากนั้นปล่อยปลาลงไป สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของปลา และน้ำ

2.) หากไม่พบสิ่งปกติก็ให้ใส่น้ำหมักปริมาณเล็กน้อยในรอบ 10 วัน หากน้ำผิดปกติให้ใส่น้ำหมักปริมาณมากกว่าเดิมและเพิ่มความถี่ขึ้นผลที่ได้รับทำให้ปลาแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว และที่สำคัญน้ำไม่มีกลิ่นเหม็นด้วย

เกร็ดความรู้
1. การซื้อพันธุ์ปลาก่อนการเคลื่อนย้ายให้ปลาอดอาหาร 1 – 2 วัน เพื่อป้องกันปลาดิ้นและทำให้ปลาไส้ขาดเวลาเลี้ยงปลาจะไม่โต
2. การเคลื่อนย้ายปลาให้เตรียม น้ำมันพืช 30 ซีซี : เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันตักใส่ในถุงหรือที่มีพันธุ์ปลา อยู่ประมาณ 1 ช้อนชา เพื่อป้องกันปลาบาดเจ็บ
3. การป้องกันปลาหนีจากบ่อเวลาฝนตก ใช่วิธีหากมีฝนตกให้หว่านอาหารให้ปลากิน สัก 2 – 3 ครั้ง เพื่อหลอกว่าเวลาฝนตกจะได้กินอาหารแล้วปลาจะไม่หนี
4. การเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ดูดน้ำออก 1 ส่วน ใน 3 ส่วน และนำน้ำที่ใส่ใหม่ให้ทำเป็นละอองฝอยโดยใช้สายยางเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ปลา
5. การจับปลาเพื่อบริโภคโดยใช้วิธีใช้สายยางฉีดน้ำเหมือนกับฝนตกปลาจะเล่นน้ำ จากนั้นใช้สวิงตักปลา ที่เล่นน้ำทันที ปลาจะไม่รู้สึกถึงอันตรายและจะกินอาหารต่อและไม่หนี้

www.zozaup.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก: saraupdate.com , wanchai